จำนวนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร จำแนกรายเดือน   จ.แพร่
   เปรียบเทียบข้อมูลปี  2557  กับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ปี 52-58
 
                           
ปี พ.ศ. ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ค ธ.ค รวม
2552 630 569 316 812 584 528 617 635 648 685 732 834 7590
2553 603 487 592 691 456 542 541 632 517 560 619 678 6918
2554 615 588 353 672 584 542 585 550 537 705 702 815 7248
2555 735 584 502 752 482 557 585 609 601 641 713 717 7478
2556 787 571 402 759 638 571 666 539 496 575 728 774 7506
2557 653 622 467 708 565 605 553 624 598 698 684 821 7598
Median                          
2558 711 660 408 684 573 668 670 586 558 680     6198
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร จำแนกรายเดือน   จ.แพร่
   เปรียบเทียบข้อมูลปี  2557  กับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง 
   
                           
ปี พ.ศ. ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ค ธ.ค รวม
2552 17 6 2 16 14 10 10 6 10 12 14 15 132
2553 12 8 12 15 9 11 9 11 7 12 14 13 133
2554 12 19 2 21 13 13 10 8 10 10 19 17 154
2555 9 10 8 21 11 6 5 14 14 8 22 14 142
2556 9 11 3 20 10 5 9 6 5 11 15 16 120
2557 6 10 2 13 17 6 10 9 6 16 14 23 132
Median                          
2558 7 10 3 8 11 14 9 6 7 13     88

คำขวัญจังหวัดแพร่.

“หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”

วิสัยทัศน์จังหวัดแพร่

“เมืองแพร่น่าอยู่ ประตูสู่ล้านนา เศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาเป็นสุข”

สภาพทางภูมิศาสตร์

1456979305426

ที่ตั้ง อาณาเขต การคมนาคม

จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดภาคเหนือตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยม อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 555 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินและทางรถไฟ ประมาณ 550

กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,538.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,086,624 ไร่

โดยมีเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดจังหวัด ลำปาง น่าน และพะเยา

ทิศตะวันออก ติดจังหวัด อุตรดิตถ์ และน่าน

ทิศใต้ ติดจังหวัด อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

ทิศตะวันตก ติดจังหวัด ลำปาง

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ พื้นที่ร้อยละ 81.50 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นป่าไม้

ที่เหลืออีก ร้อยละ 18.50 เป็นที่ราบลุ่ม มีจุดสูงสุดประมาณ 1,650 เมตร และต่ำสุดเหนือ ระดับน้ำทะเลประมาณ 120 เมตร

ข้อมูลการปกครองและประชากร

จังหวัดแพร่ แบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 708 หมู่บ้าน 18 ชุมชน 1 เทศบาลเมือง 25 เทศบาลตำบล 57 อบต. จำนวนประชากรทั้งสิ้น 457,074 คน แยกเป็นชาย 222,570 หญิง 235,037 คน  มีหลังคาเรือน จำนวน 167,368 หลังคาเรือน ประชากรมีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 ประชากรร้อยละ 73.25 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 26.75 อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล

ความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตรเท่ากับ 71 คนต่อตารางกิโลเมตร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน

1456979591377

 

pyramid

1456987309369

1456987363918

 1456987889588

 1456987961692

 

 1456988018210

1456988066645

1456988122445

1456988197180

1456988798352

 

 

ตัวอย่างหนังสืออุทธรณ์

วันที่………เดือน………………..พ.…………..

เรียน    ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

ข้าพเจ้า………………………….…….…………ตำแหน่ง/อาชีพ…………...……………...

อยู่บ้านเลขที่………….ตำบล…………………อำเภอ…………………..จังหวัด…………………...

รหัสไปรษณีย์ ......................โทรศัพท์……………………………….

ขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารว่าหน่วยงานของรัฐ

คือ.................................................................................................................ได้กระทำการ ดังนี้

(1) ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ตามที่ข้าพเจ้าขอ ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสาร

1.1…………..…………………..

1.2…………..…………………..

หรือ     (2) ไม่รับฟังคำคัดค้านของข้าพเจ้าที่คัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเรื่อง

2.1…………..…………………..

2.2…………..…………………..

หรือ     (3) ไม่รับแก้ไขหรือลบข้อข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าเรื่อง

3.1…………..…………………..

3.2…………..…………………..

                        จึงขออุทธรณ์คำสั่งของหน่วยงานดังกล่าวและขอให้กรรมการดำเนินการต่อไป พร้อมนี้ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย คือ…………………………………………............................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                              ขอแสดงความนับถือ

                                                            (ลงชื่อ)……………………………..ผู้อุทธรณ์

                                                                      (………………..……………)

                               

ประวัติจังหวัดแพร่
ตราประจําจังหวัดแพร่ เป็นรูปม้ายืนและมีโบราณสถานที่สําคัญของจังหวัดแพร่ คือ พระธาตุช่อแฮอยู่บนหลังม้า

 

จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๕๕๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือบนฝั่งแม่น้ำยม เป็นนครแห่งวรรณกรรมลิลิตพระลอที่รู้จักกันทั่วไป เมืองแพร่เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจาก ปรากฏ ในตำนาน พงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย  จากการศึกษาค้นคว้า และตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือพงศาวดารโยนก  และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน  
ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน  เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" ดังปรากฎในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวงว่า "เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร อันมีในที่ใกล้กันกับกัปลัมภกัปปะนคร(ลำปาง)นี่ ทราบว่าสรีร พระธาตุ  พระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร ก็ปรารถนาจะใคร่ได้"
ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. 1470 - 1560 นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตล้านนาเป็นภาษาเขมร เช่นลำพูนเป็นหริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัยชื่อที่ปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า "เมืองพล" และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น "แพร่" ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า "แป้"  เนื่องจากเมืองแพร่เป็นเมืองเก่าแก่ จึงมีวรรณคดีของชาติไทยที่สำคัญเรื่อง พระลอ และมีรัตนกวีที่สำคัญ คือ คุณโชติ แพร่พันธุ์ หรือนามปากกาว่า ยาขอบ ผู้เขียนเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ 
      ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบที่ราบซึ่งอยู่ตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบคล้ายก้นกระทะโดยมีภูเขา ทั้ง 4 ทิศ ที่สำคัญได้แก่ ภูพญาพ่อ ภูเขาม่อนกระทิง ดอยหน้าบาก ภูเขาหลวง ภูเขากิ่งคอเมือง ดอยอ่างขาง และดอยขุนเขียด ภูเขาแปเมือง ภูเขาก้อ พื้นที่ ราบตอนกลางของจังหวัดลาดเอียงลงไปทางใต้ตามแม่น้ำยม พื้นที่ร้อยละ 81.50 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นป่าที่เหลือ ร้อยละ 18.50 เป็นที่ราบลุ่ม มีจุดสูงสุดประมาณ1,650 เมตร และต่ำสุดเหนือ ระดับน้ำทะเลประมาณ 120 เมตร พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ โดยมีไม้สักมากที่สุดในประเทศไทย มีระดับความสูงของพื้นที่ตั้งแต่ประมาณ 200 เมตร ถึง 1,650 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลและมีความลาดชันของพื้นที่มากกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป Description: Description: Description: Description: D:\รายงานประจำปี\รายงานประจำปี 2555\img\picture\poopayapore.jpg
Description: Description: Description: Description: แยกวงเวียน ภาพโดยประจักษ์ ปวงขจร จังหวัดแพร่ แบ่งการปกครองเป็น 8  อำเภอ 78ตำบล 708 หมู่บ้าน 18 ชุมชน 1 เทศบาลเมือง 23 เทศบาลตำบล 59 องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนประชากรทั้งสิ้น 457,607 คน แยกเป็นชาย 222,570 คน  หญิง 235,037 คน  165,223  หลังคาเรือน ประชากรมีจำนวนลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 0.25 ประชากรร้อยละ 73.23 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 26.77 อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์จำนวน 3 คน
ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดแพร่ นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาได้แก่ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
ศิลปะของชาวแพร่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงศิลปะของชาวล้านนาทั่วไป 
ภาษาพูดมีภาษาประจำ ท้องถิ่น หลายภาษา ส่วนใหญ่พูดภาษาเมือง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม  
 
พระธาตุช่อแฮ

 ตราประจําจังหวัดแพร่ เป็นรูปม้ายืนและมีโบราณสถานที่สําคัญของจังหวัดแพร่ คือ พระธาตุช่อแฮอยู่บนหลังม้า

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 8 กิโลเมตร ในบริเวณวัด ประดิษฐานพระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิดสิบสองราศี คือ พระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) องค์พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบ สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ศิลปะแบบเชียงแสน ตามหนังสือตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า สมัยครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ดอยโกสิยะ แห่งนี้ และได้มอบพระเกศาให้กับขุนลั๊วะอ้ายก้อม จึงได้นำมาใส่ในท้องสิงห์ทองคำบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุช่อแฮแห่งนี้ เพื่อไว้เป็นที่เคารพสักการะสืบมา ด้านประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างขึ้นสมัยสุโขทัย โดยระหว่างจุลศักราช 586-588 (พ.ศ.1879-1881) ในสมัยพระมหาธรรมราช (ลิไท) ขณะดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้เสด็จมาสักการะองค์พระธาตุช่อแฮ และใน พ.ศ.1902
ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์พระเจดีย์แห่งนี้ และขนานนามว่า “โกสิยธชัคคปัพพเต” หรือ “โกสัยธชัคคบรรพต” จากนั้นได้จัดงานสักการะ 7 วัน 7 คืน และต่อมาจึงได้ชื่อว่า “พระธาตุช่อแฮ” (คำว่า “แฮ” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “แพร” แปลว่า ผ้าแพร)สมัยกรุงธนบุรี (ปี พ.ศ.2512) สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงยกทัพตีพม่าที่ยึดครองล้านนาอยู่ โดยมีพญาแพร่หรือเจ้ามังไชยะ ผู้ปกครองเมืองแพร่ พาขุนนาง กรมการเมืองและไพร่พล เข้าเฝ้าถวายบังคมเข้าร่วมทัพ ยกทัพไปตีพม่าที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดแต่งตั้งให้เป็นพระยาสุริยวงศ์ ดังนั้นในสมัยกรุงธนบุรี จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุช่อแฮ โดยพญาแพร่หรือเจ้ามังไชยะ (พระยาศรีสุริยวงศ์) ตลอดมา พญาแพร่หรือเจ้ามังไชยะ (พระยาศรีสุริยวงศ์)

ได้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาดูแลองค์พระบรมธาตุช่อแฮจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในปี พ.ศ.2361 ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเจ้าหลวงเทพวงศ์ (เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นทอง) ในปี พ.ศ.2373 เจ้าหลวงอินทวิไชย ก็รับการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเจ้าหลวงเทพวงศ์ ในปี พ.ศ.2415 เจ้าหลวงที่มีบทบาทในตำบลป่าแดงมากที่สุดและอุปถัมภ์พระบรมธาตุช่อแฮตลอดคือ เจ้าหลวงพิมพิสาร (เจ้าหลวงขาเค) และจนมาถึงเจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่เป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเมืองแพร่มากที่สุด คือเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ (พระยาพิริวิไชย) ท่านปกครองเมืองแพร่ ปี พ.ศ.2432 ถึง ปี 2445 เจ้าหลวงเดินทางลี้ภัยไปหลวงพระบางซึ่งในปีนี้เมืองแพร่เกิดจลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ ในปี พ.ศ.2467 องค์พระธาตุช่อแฮก็ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งโดยนักบุญแห่งล้านนาไทย ที่ซึ่งเรียกตามคนเมืองแพร่ว่า ครูบาศีลธรรมหรือครูบาศรีวิชัยนั่นเอง ดังค่าวตำนานปางเดิม กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนองค์พระธาตุช่อแฮ เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2474 และได้ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานเล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2532 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีหนังสือรับรองสภาพวัดไว้ว่า วัดพระธาตุช่อแฮ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.1900 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.1910 ตามหนังสือ ที่ พ.ศ. 0003/526 ลงวันที่ 24 มกราคม 2548 วัดพระธาตุช่อแฮ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนที่ 96 ง ลงวันที่ 24 มกราคม 2549 จังหวัดแพร่ได้จัดงานประเพณีนมัสการองค์พระธาตุช่อแฮ โดยยึดถือตามจันทรคติ ในระหว่างวันขึ้น 9 ค่ำ-ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ ของทุกปีโดยใช้ชื่องานว่า “งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวง” ด้วยความสำคัญดังกล่าว จังหวัดแพร่นำองค์พระธาตุช่อแฮ ประดิษฐานบนหลังม้า เป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัด และนำมาเป็นคำขวัญประจำจังหวัดแพร่ ดังนี้ “หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมืองลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

ภาพโดย ประจักษ์ ปวงขจร

ตั้งอยู่ถนนเจริญเมือง อำเภอเมืองแพร่ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร แต่เดิมนั้นเป็นวัดราษฎร์ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้ยกฐานะ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ประเภทวรวิหาร นั้นวัดพระบาทมิ่งเมืองมาจากสองวัดรวมกัน ได้แก่ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ห่างกันเพียงมีถนน กั้นเท่านั้น วัดพระบาทเป็นวัดของอุปราชหรือเจ้าหน้าหอ ส่วนวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครแพร่เมื่อเมือง แพร่ล้มเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร วัดทั้งสองก็ถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากกระทั่ง คณะกรรมการ จังหวัดเห็นสมควรรวมสองวัดเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมือง มาจนทุกวัน ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่และยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง "ยาขอบ"หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย
ตามป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยวบอกข้อมูลไว้ว่า “วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ไม่ปรากฎว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่เดิมแยกเป็น 2 วัด คือวัดพระบาทอันมีจุดเด่นที่รอยพระพุทธบาท เป็นวัดของเจ้าผู้ครองนคร และวัดมิ่งเมือง ซึ่งมีพระธาตุมิ่งเมืองเป็นของสำคัญ เป็นวัดของอุปราช ต่อมาภายหลัง เมื่อไม่มีเจ้าครองนครแล้วทางราชการจึงให้รวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน และมีการบูรณะวัดอีกหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือ การสร้างพระอุโบสถใหม่เนื่องจากหลังเก่าถูกไฟไหม้ไปจนหมดสิ้น”
ความสำคัญต่อชุมชน เป็นพระอารามหลวงแห่งเดียวในจังหวัดแพร่ จัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวแพร่ ในวัดมีเจดีย์มิ่งเมือง และเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรักษาพระคัมภีร์ปักด้วยไหม พระคัมภีร์ที่ตัวอักขระ ประดิษฐ์ขึ้นจากการปักด้วยไหมทีละตัว นับเป็นศิลปวัตถุชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของจังหวัดแพร่

ลักษณะสถาปัตยกรรม : โบสถ์เป็นศิลปแบบรัตนโกสินทร์

เส้นทางเข้าสู่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
เดินทางโดยรถยนต์ตามถนนเจริญเมืองเข้าทางสี่แยกประตูชัย จะอยู่ฟากซ้ายมือของถนน ห่างจากประตูชัยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๒๐ เมตร

บ้านวงศ์บุรี

บ้านวงศ์บุรี ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ ใกล้กับวัดพงษ์สุุนันท์ ) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบ้านของเจ้าพรหม(หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ และ เจ้าสุนันทา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2440
ลักษณะอาคาร อาคารเป็นเรือนปั้นหยา สองชั้น แบบยุโรปประยุกต์ ตกแต่งลวดลายแบบเรือนขนมปังขิง ก่อสร้างโดยช่างชาวจีนกวางตุ้ง มีลวดลายไม้แกะสลักประดับตัวบ้านทั่วไปจุดเด่นของ อาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่างและประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทาซึ่งู เกิดในปีแพะ ภายในบ้านตกแต่งด้วยเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูล ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผาเอกสารที่ สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส ฯลฯ บ้านวงศ์บุรี ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดย เจ้าหลวงพิริยชัยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย) คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น
หลังคามุงด้วยไม้ เรียกว่า "ไม้แป้นเกล็ด" ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยา มีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมาด้านหน้าของตัวอาคาร หลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยม ทั้งปั้นลมและชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับด้วยไม้แกะฉลุสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มุขด้านหน้าตัวอาคารแต่เดิมมีบันไดขึ้นลงทั้ง 2 ด้าน คือด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ (ปัจจุบันรื้อออกแล้ว) คงเหลือบันไดขึ้นลงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง
ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีห้องสำหรับคุมขัง ข้าทาส บริวาร ซึ่งกระทำความผิด จำนวน 3 ห้อง ห้องกลางเป็นห้องทึบ แสงสว่างสาดส่องเข้าไปไม่ได้เลย ใช้เป็นที่คุมขังข้าทาสบริวารที่กระทำความผิดร้ายแรง ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องแสง ให้แสงสว่างเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดชั้นลหุโทษ เป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประกาศเลิกทาส คุกทาสจึงกลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษทั่ว ๆ ไปของเจ้าเมือง หรือข้าหลวงในสมัยต่อ ๆ มา ต่อมามีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้นใหม่ คุกแห่งนี้จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนาน
ขณะเดียวกัน คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ยังกลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯ ที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณใกล้ ๆ คุ้มเจ้าหลวงเคยมีคอกม้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ จากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 ได้ดัดแปลงเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชาย คือ "โรงเรียนพิริยาลัย" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าหลวงแพร่องค์สุดท้าย แต่ต่อมาโรงเรียนก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ส่วนคุ้มเจ้าหลวงก็กลายเป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จนเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน
วนอุทยานแพะเมืองผี

อยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะ ตามธรรมชาติ เป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 
 ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ..........."แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบต่อกันมาว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดู ก็พบแต่รอยเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"
การเดินทาง 
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ 15 กิโลเมตร
หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง

เป็นหมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง ที่มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ ผ้าม่อฮ่อม ซึ่งถือกันว่ามีเนื้อดี ทนทาน และสวยงาม นักท่องเที่ยว นิยมซื้อหาไว้ เป็นของที่ละลึก การเดินทาง ใช้เส้นทางสาย แพร่-น่าน ไปประมาณ ๔ กิโลเมตร อาชีพหลักของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง คือการทำผ้าหม้อห้อมแท้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ จนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิงหัตถกรรม (OTOP Village Champion Handicrafts Tourism) ผลิตภัณฑ์โดดเด่น ผ้าหม้อห้อม หม้อห้อมเป็นคำพื้นเมือง จากคำสองคำคือ หม้อ และ ห้อม หม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำ หรือของเหลวมีทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนห้อมนั้น เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ลำต้นและใบมาหมัก ในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะให้เป็นสีกรมท่าโดยนำผ้าขาวไปย้อมให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกว่า ผ้าหม้อห้อม ผ้าหม้อห้อม เป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านทุ่งโฮ้งที่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์ของชาวทุ่งโฮ้ง และชาวแพร่มาช้านาน
ตลอดจนเป็นชุดแต่งกายประจำถิ่นของชาวแพร่ และชาวบ้านทุ่งโฮ้งที่สวมใส่ ในชีวิตประจำวัน และงานประเพณีต่างๆ จึงถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวแพร่ การจัดการด้านการท่องเที่ยวบ้านทุ่งโฮ้ง มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับบริการให้ข้อมูล และ เอกสารแก่นักท่องเที่ยวพร้อมทั้งยังเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า OTOP ภายในหมู่บ้านอีกด้วย และเป็นหมู่บ้านเชิงหัตถกรรมที่
นักท่องเที่ยวสามารถชมกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อมได้ทุก ขั้นตอน และสามารถเลือกซื้อได้โดยตรง จากชาวบ้านนักท่องเที่ยว สามารถพักแรมที่หมู่บ้านได้เพราะมี Home Stay ไว้สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
พระธาตุพระลอ

ตั้งอยู่ที่บ้านพระลอ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสอง ๔ กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับ เวียงสรองเมือง โบราณที่กล่าวถึง วรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอ และเป็น ที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญพระคู่บ้านคู่เมือง ของอำเภอ สอง ภายในวัดมีรูปปั้นของ พระล พระเพื่อน พระแพง พระธาตุพระลอ พระธาตุพระลอ เป็นโบราณสถานที่มีประวัติ เกี่ยว พระลอ พระเพื่อน พระแพง ประวัติความเป็นมา เดิมวัด พระธาตุพระลอนี้เดิมเรียก ธาตุหินส้มเพราะแต่เดิมก่อนที่จะสร้าง พระธาตุนั้น พบว่้ามีซากอิฐและหินกองใหญ่อยู่
หินนี้มีลักษณะ เป็นหินส้มแต่ต่อมา ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น พระธาตุ พระลอการก่อสร้างสันนิฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย เนื่องจากมีการขุด พบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น ดาบ และพระพุทธรูป ซึ่งเป็น ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย หล่อด้วยตะกั่ว รูปแบบเจดีย์เป็นทรงลังกา พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทานวิสุึงคามสีมา พ.ศ. 2521จังหวัดให้สร้างอนุสาวรีย์พระลอ พระเพื่อนพระแพงขึ้นในบริเวณวัด เป็นรูปปั้นของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ที่ถูกทหารยิงด้วยธนูจนสิ้นพระชนมประเพณีการ์ นมัสการพระธาตุพระลอกำหนดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เหนือของทุกปี พระธาตุพระลอ อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1154 กม.ที่ 54 ห่างจากอำเภอสอง
ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 400 ปีสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรัก อมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวงและพระเพื่อน-พระแพง แห่งเมืองสรอง

ตัวอย่างหนังสือร้องเรียน

วันที่………เดือน………………..พ.…………..

เรียน    ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

                        ข้าพเจ้าชื่อ………………………………นามสกุล…………………………………

อยู่บ้านเลขที่………หมู่ที่………ถนน……………………ตำบล/แขวง…………………………….

อำเภอ/เขต………………………….จังหวัด………………………….รหัสไปรษณีย์………………

โทรศัพท์……………………………….

ข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการว่าหน่วยงานรัฐ คือ (ชื่อหน่วยงาน)……….....

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ได้กระทำการเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 เกี่ยวกับกรณีเพิกเฉยไม่พิจารณาคำขอดูข้อมูลข่าวสารของข้าพเจ้า

โดยเมื่อวันที่ ............................................................................................................................................

ข้าพเจ้าได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติ ขอดูเอกสาร จำนวน ………รายการ(รายละเอียดตามสำเนาคำขอที่แนบ) จาก……………………………………………………และข้าพเจ้าได้ติดตามทวงถามหลายครั้ง แต่หน่วยงานดังกล่าวมิได้ดำเนินการใดๆ ให้ข้าพเจ้าโดยไม่มีเหตุผล จงใจเพิกเฉยไม่ให้ความสะดวกแก่ข้าพเจ้า

จึงขอร้องเรียนหน่วยงานดังกล่าวและขอให้กรรมการดำเนินการต่อไป พร้อมนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย คือ

.................................................................................... ….…………………………………………………………………………………………………จำนวน……………………แผ่น

(ลงชื่อ)………………………………..ผู้ร้องเรียน

                                                                 (………………………………..)

  • มาตรา 9(1) ผลการพิจารณาที่มีต่อเอกชนโดยตรง
  • มาตรา 9(3) แผนงาน/โครงการและงบประมาณ
  • มาตรา 9(4) คู่มือ/คำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน
  • มาตรา 9(5) สิ่งพิมพ์ที่มีการอ้างอิงในราชกิจจานุเบิกษา
  • มาตรา 9(6) สัญญาสำคัญของรัฐ
  •  มาตรา 9 (7) มติ ค.ร.ม. คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย
  •  มาตรา 9(8) ข้อมูลข่าวสารที่คณะกรรมการกำหนด